สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี

สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ 6 ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โทร (032) 281299-300ทีมงาน เวทโปรดักส์ ได้รับเกียรติจากท่าน ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกสมาคมฯ ให้สัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เพื่อนำบทสัมภาษณ์ลงหนังสือเวทไดเจสต์ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแนวคิดที่ตั้ง สมาคมฯ ขึ้นมาว่า..ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2547 กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในเขตห้วยไผ่, อ.เมืองและปากท่อ ประมาณ 29 ฟาร์มได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “ชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” โดยมี ส.ส.วิวัฒน์ นิติกาญจนา เป็นประธานชมรมฯ, มีคุณสมชาย นิติกาญจนา เป็นรองประธาน. คุณ วีระชัย เตชะสัตยา เป็นที่ปรึกษาชมรมฯ, คุณสุวดี ธีระสัตยกุล เป็นเลขานุการ และมีทีมงาน เวทโปรดักส์ กรุ๊ป ช่วยประสานงาน วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามัคคีความเข้าใจอันดีในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นชมรมฯ มีการพบปะกันเพื่อกำหนดทิศทางและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันระหว่างสมาชิก นอกจากนั้นทางชมรมฯ ยังได้จัดตั้ง “กองทุนพยุงราคาสุกร” เพื่อใช้ในกิจกรรมเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสุกรรวมทั้งเป็นงบดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างภาพพจน์ที่ดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกร ซึ่งทางสมาคมจะเก็บตัวละ 10 บาท จากจำนวนสุกรขุน โดยประมาณจากที่แต่ละฟาร์มจำหน่ายต่อเดือน จะเก็บทุกวันโกนแรกของเดือนโดยมีเป้าหมายที่จำนวน 200 ล้านบาท ท่าน ส.ส. ได้เล่าต่ออีกว่าต่อมาชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ได้เปลี่ยนสถานะเป็น “สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 โดยเป็นสมาคมที่ 3 ในวงการสุกรที่ขึ้นทะเบียนสมาคมการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ ทีมงานได้สอบถามความแตกต่างของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรีกับสมาคมอื่นๆ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร …ได้รับคำตอบจากท่านคือ “เราจะเห็นได้ว่าปริมาณการเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีมีจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งก็มีผลกระทบกับราคาขายของสุกรในเขตอื่นๆ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดร



การเลี้ยงหมูในประเทศไทยเป็นอย่างไรการเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้น ผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้ จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ 2-3 ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีนวิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มาก จะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือน หรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยง แต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิมนอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้ว อาหารหลักที่ใช้ก็คือรำข้าว และหยวกกล้วย นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา ผักบุ้ง สาหร่าย และผักขม เป็นต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับรำข้าวและปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว เติมน้ำลงในอาหารที่ผสมแล้วนี้ในปริมาณที่พอเหมาะแล้วจึงให้หมูกิน หมูที่เลี้ยงในสมัยก่อนเป็นหมูพันธุ์พื้นเมือง หมูเหล่านี้มีขนาดตัว เล็กและเจริญเติบโตช้า เนื่องจากไม่มีใครสนใจปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงถูกปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองโดยไม่มีการคัดเลือก น






